นักศึกษายังคงกังวลถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ส่วนใหญ่ได้มีวิธีการป้องกันแบบเดียวกัน คือการใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นวิธีป้องกันที่ง่ายที่สุดที่ทุกคนสามารถทำได้
โดยทีมข่าวที่ได้สัมภาษณ์นักศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง เกี่ยวกับผลกระทบและการป้องกันตัวเองจากฝุ่นPM2.5 โดยให้คำสัมภาษณ์ว่า “รู้สึกไม่ปลอดภัยกับสภาพแวดล้อม ณ ตอนนี้ เพราะตัวเองเป็นคนภูมิคุ้มกันไม่ค่อยดี เรื่องระบบการหายใจ เมื่อก่อนเวลาเจอฝุ่นที่ไม่ใช่PM2.5 รู้สึกมีผื่นที่ตัวแล้วคัน เกิดปฏิกิริยาต่อร่างกาย แต่พอเป็นPM2.5 ทำให้เราหายใจเริ่มเหนื่อย และส่งผลกระทบต่อร่างกาย มีวิธีป้องกันตัวเองโดยศึกษาจากรายการและดูในเว็บไซต์ เช่นหน้ากากที่ใช้ป้องกันฝุ่นPM2.5 จะเจอฝุ่นเยอะเวลาขับรถมอเตอร์ไซต์ตามเส้นทางที่มีการก่อสร้าง อย่างหน้าราม ซึ่งเวลารถวิ่งฝุ่นจะลอยตัวขึ้นหนักกว่าเดิม ก็เลยส่งผลกระทบเยอะหน่อย” นายจามิกร วงชมพู นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสื่อสารมวลชน ซึ่งมีความกังวลและวิธีป้องกันคล้ายกับ นางสาวอัฐรัตน์ เหลืองทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ และนายพงศธรณ์ ศิริพงศ์สุวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะสื่อสารมวลชน ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “กลัวมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับตัวเอง เพราะไม่รู้ว่าเรารับปริมาณฝุ่นเข้าไปในร่างกายเท่าไหร่ มีวิธีป้องการคือการสวมหน้ากากอนามัย มากที่สุดเท่านี้ ส่วนผลกระทบต่อร่างกายยังไม่มี”
ซึ่งเห็นได้ว่าจากการให้สัมภาษณ์แต่ละคนมีความกังวลเรื่องสุขภาพ ผลกระทบในการสูดรับฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในร่างกาย และทุกคนจะมีวิธีป้องกันแบบเดียวกันคือการใส่หน้ากาก
เมื่อวันที่ 30 มกราคม ช่วงเวลา 14:30 น. สภาพอากาศในกรุงเทพฯ ย่านรามคำแหง พบค่าความเข้มข้นของฝุ่นแบบมวลรวมอยู่ที่ 105 US AQI และ ปริมาณของฝุ่นPM2.5 อยู่ที่ 37 มคก./ลบ.ม. ซึ่งระดับมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกไว้ไม่ให้เกิน 50 มคก./ลบ.ม. หากเกินถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
ฝุ่นละอองเป็นพิษ หรือPM2.5 เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก กว่าเส้นผมของเราถึง20เท่า สามารถผ่านเข้าไปในร่างกาย ของเราได้โดยง่าย ส่งผลกระทบ ให้บางคนมีอาการแสบจมูก เจ็บ คอ เลือดกำเดาไหล หายใจ ลำบาก ระคายเคืองตา คันตาม ร่างกายผิวหนัง หากสูดรับฝุ่นใน ปริมาณมากจะเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ โรคผิวหนัง โรคหลอด เลือดในสมอง โรคระบบทางเดิน หายใจ มะเร็งปอด และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิด ฝุ่นPM2.5 ส่วนใหญ่มาจาก กิจกรรมในชีวิตประจำวันของเรา เช่น
- การเผาในที่โล่งแจ้ง เช่น เผา หญ้า เผาขยะ
- เขม่าไอเสียจากยานพาหนะบน ถนนสภาพ
- การสูบบุหรี่ การจุดธูป ปิ้งย่าง
- การก่อสร้าง รื้อถอนอาคาร รวมไปถึงรถบรรทุกหิน ดิน ทราย ซีเมนต์
- มลพิษจากปล่องโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม
ดังนั้นการดูแลสุขภาพในสถานการณ์แบบนี้จึงสำคัญ ควรป้องกันตัวเองโดยการสวมหน้ากากเมื่อต้องออกจากบ้าน จะเป็น N95 , FFP2 หรือหน้ากากธรรมดาสวมทับ2ชั้น หากใครมี กำลังทรัพย์เพียงพอเครื่องกรองอากาศก็เป็นตัวเลือกที่ดีที่ทำให้อากาศภายในบ้านสะอาดปลอดมลพิษ เชื้อโรค และช่วยกรอง ฝุ่นPM 2.5 ได้ นอกจากนี้เรา สามารถเช็คค่าฝุ่นผ่านทางแอปพลิเคชัน เพื่อเตรียมรับมือล่วงหน้าได้โดยแอป Air Visual , Air 4 Thai เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง
◘ แอปพลิเคชัน Air Visual
– Android : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.airvisual
– IOS : https://apps.apple.com/us/app/airvisual-air-quality-forecast/id1048912974
◘ https://www.khaosod.co.th/ pr-news/news_2171737
◘ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/862816
◘ https://today.line.me/th/pc/article/ฝุ่นพิษ+PM10+และ+PM2+5+ทำให้หัวล้านและผมร่วงนะ+รู้ยัง-O9w6zD
ติดตามเราผ่าน Social Media